เพิ่มเติม

งานวิจัย วารสารวิชาการ

บริการธุรกิจ

slider_2025_06_03_1

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

จากนโยบายการพัฒนาประเทศโดยใช้โมเดล “Thailand 4.0” และยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นหลักสูตรหนึ่งที่บทบาทต่อการพัฒนาดังกล่าว เนื่องด้วยจะช่วยขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ แทนที่การขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม มีการพัฒนาการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่เกษตรแบบใหม่โดยเน้นการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทางหลักสูตรจึงมีการกำหนดเป้าหมายพัฒนาแรงงานให้มีความรู้และทักษะขั้นสูง โดยรองรับในอุตสาหกรรมกลุ่มหุ่นยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม สร้างนักศึกษาที่มีศักยภาพ และมีความสามารถในการแข่งขัน หลักสูตรทันสมัยตรงความต้องการของตลาด ปรับได้ตลอดเวลา พัฒนาทักษะการเรียนการสอนให้ทันสมัย การเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง.

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะ/วิทยาเขต/วิทยาลัย วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Robots and Intelligent Electronics
Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์)
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Engineering (Robots and intelligent Electronics
Engineering)
ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) วศ.บ. (วิศวกรรมหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์)
(ภาษาอังกฤษ) B. Eng. (Robots and intelligent Electronics Engineering)

สถานที่จัดการเรียนการสอน
สถานที่ตั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์)
นอกสถานที่ตั้ง สถานประกอบการ ที่มีการลงนามความร่วมมือ หรือสถานประกอบการอื่นๆ ที่ผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 127 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร
ระยะเวลการศึกษาของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
ลักษณะของหลักสูตร หลักสูตรพหุวิทยาการ ประกอบด้วยศาสตร์ทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล และบริหาร มีการจัดการเรียนการสอนรวมกันในลักษณะรายวิชาที่แยกอิสระจากกัน
ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี

ระบบการจัดการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และภาคฤดูร้อนโดยใน 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ในขณะที่ภาคฤดูร้อนได้ถูกกำหนดให้มีระยะเวลาในการศึกษาโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ
นอกวัน – เวลาราชการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 17.30 – 20.30 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 20.30 น.

  • ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนกรกฎาคม – เดือนตุลาคม
  • ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม
  • ภาคการศึกษาพิเศษ เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาหลักสูตร 4 ปี
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาสำหรับเทียบโอน 3 ปี
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การดูแลนักศึกษาแรกเข้า
– จัดสอนเสริมเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน
– จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในสถาบัน และการแบ่งเวลา
– จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือนให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
– จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ของนักศึกษาและการดูแลนักศึกษา เช่น กิจกรรมค่ายสัมพันธ์
– จัดกิจกรรมวันแรกพบระหว่างนักศึกษากับอาจารย์วันพบผู้ปกครอง การติดตามการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากอาจารย์ผู้สอน และจัดกิจกรรมสอนเสริมถ้าจำเป็น
– จัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

20,000 บาท/ภาคการศึกษา

จบแล้ว...

ทำงานอะไร

  • วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotic Engineer)
  • วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineer)
  • วิศวกรระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automatic System Engineer)
  • วิศวกรฝ่ายผลิต (Product Engineering)
  • วิศวกรทางการแพทย์ (Biomedical Engineer)
  • วิศวกร IoT (IoT Engineer)

GALLERY

ติดต่อเรา

ติดตามเรา

Scroll to Top