เพิ่มเติม

งานวิจัย วารสารวิชาการ

บริการธุรกิจ

เกี่ยวกับเรา

ประวัติวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ปี พ.ศ. 2526
สถาบันฯ ขออนุญาตใช้พื้นที่
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีความเห็นว่าควรจะได้มีการขยายงานการศึกษา การวิจัย และบริการสังคมของสถาบันไปสู่ภูมิภาค หลังจากที่ได้พิจารณาหาที่เหมาะสมในการจัดตั้งหน่วยงาน พบว่าป่าสงวนแห่งชาติ ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 11,224 ไร่ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งหน่วยงานทางการศึกษาและวิจัย แห่งที่สองของสถาบัน พื้นที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งติดกับทะเล ส่วนหนึ่งเป็นที่ราบ ส่วนหนึ่งเป็นเนิน และมีแหล่งน้ำจืดน้ำทะเลที่สมบูรณ์ จึงได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปี พ.ศ. 2526
3 มิถุนายน พ.ศ. 2528
ครม.มีมติอนุญาตให้สถาบันฯ ใช้พื้นที่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมติ ครม. อนุญาตให้สถาบันฯ ใช้พื้นที่ดังดังกล่าว เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาและวิจัยได้ สถาบันจึงเริ่มเข้าทำประโยชน์ และพัฒนาพื้นที่มาตั้งแต่นั้น
3 มิถุนายน พ.ศ. 2528
ปี พ.ศ. 2533
ขอจัดตั้งสถานศึกษาและวิจัยชุมพร
สถาบันได้ขอจัดตั้งสถานศึกษาและวิจัยชุมพร มีฐานะเทียบเท่ากอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี ต่อทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ แต่เห็นควรให้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิจัยการเกษตรชุมพร มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร ต่อมาสถาบันฯ ขอทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานที่จังหวัดชุมพรใหม่ โดยขอจัดตั้งเป็นสำนักศึกษาและวิจัยชุมพร มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบตามที่สถาบันเสนอเมื่อวันที่ 18 มกราคม2534 และอนุมัติให้บรรจุการจัดตั้งหน่วยงาน สำนักศึกษาและวิจัยชุมพร ไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่7 (พ.ศ.2538-2539) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ทบวงมหาวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่า การขยายวิทยาเขตสารสนเทศ เป็นทางเลือกที่เหมาะสม ทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการควบคู่ไปกับ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล โดยใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่สถาบันฯ ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้จัดตั้งสถานศึกษานั้น เดิมมีเนื้อที่ 11,224 ไร่ ในปี 2534 จังหวัดชุมพรขอใช้พื้นที่ 5,000 ไร่ ให้กรมการบินพาณิชย์กระทรวงคมนาคม จัดตั้งสนามบินภายในประเทศ สถาบันฯเล็งเห็นประโยชน์ในการเดินทางของบุคลากร และเพื่อแก้ปัญหาราษฎรบุกรุกพื้นที่ จึงได้มอบพื้นที่ 4,994 ไร่ ให้จังหวัดชุมพร พื้นที่ที่เหลือ 6,230 ไร่ กรมป่าไม้ได้มอบให้ สปก. จัดสรรที่ทำกินให้ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่และให้ย้ายออกจากพื้นที่ที่เหลือ 3,500ไร่ จึงเป็นพื้นที่ของวิทยาเขตชุมพรในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2533
28 มีนาคม พ.ศ. 2541
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวม
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 เวลา 15.45 นาฬิกา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวมซึ่งได้รับพระราชทานนาม "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษาและอาคารบริหาร" “อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี" อาคารปฏิบัติการ 1 และ 2 พร้อมเปิดป้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

ในปีการศึกษา 2539 วิทยาเขตชุมพรได้เริ่มรับนักศึกษา และจัดการเรียนการสอนครั้งแรก โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง ปี2541 เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ได้แก่สาขา พืชสวน วิทยาศาสตร์การประมงและสัตวศาสตร์ โดยให้นักศึกษาเรียน 2 ปีแรก ที่สถาบันฯกรุงเทพ และ 2 ปีหลัง ที่วิทยาเขตชุมพร ปี 2543 เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง และปี 2544 เปิดสอนนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรเทียบโอน 3 ปี
28 มีนาคม พ.ศ. 2541
27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร”
27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัญญลักษณ์ วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา.."การศึกษาด้านเทคโนโลยี เกษตร อาหาร และพลังงานทางเลือก เป็นรากฐานของชีวิตที่ยั่งยืน"

ปณิธาน.. "มุ่งมั่นจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยี เกษตร อาหาร และพลังงานทางเลือกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน"

วิสัยทัศน์.."สถาบันแห่งการเรียนรู้ที่ทันสมัย สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนประเทศและสังคมโลก"

พันธกิจ..
ด้านการศึกษา ผลิตบุคลากรที่มีทักษะในการเรียนรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยใช้องค์ความรู้ที่หลากหลาย สนับสนุนการวิจัย เทคโนโลยี และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
ด้านการวิจัย พัฒนางานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่ตอบโจทย์ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคสังคม
ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่สร้างความสามารถในการแข่งขันในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
ด้านสังคมและชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้เพื่อสร้าง ecosystem ให้กับทุกภาคส่วน ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ด้านการบริหารจัดการ มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพควบคู่ธรรมาภิบาล สร้างบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากร

โครงสร้างการบริหาร

Scroll to Top