หน้าแรก
สิทธิประโยชน์ของบุคลากร
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

  • สวัสดิการค่าการศึกษาบุตร

  • สิทธิในการเบิกค่าพาหนะเดินทาง

  • ค่าชดเชย บำเหน็จ บำนาญ ฯ

  • การนับวันเกษียณอายุ

  • การจ่ายเงินชดเชย บำเหน็จ บำนาญ ฯ
     

    พนักงานสถาบัน
    การจ่ายเงินค่าชดเชยพนักงานสถาบัน
     1.ครบเกษียณอายุ

    ุ 2.ถูกสั่งให้ออกจากงานกรณีเจ็บป่วยจนไม่สามารถปกิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ

    ุ 3.ถูกสั่งให้ออกจากงานกรณีถูกยุบเลิกตำแหน่ง หรือถูกยุบเลิกส่วนงานที่ปฏิบัติอยู่

    ุ 4.เลิกจ้างก่อนครบอายุสัญญาโดยไม่มีความผิด

    ุ 5.เสียชีวิตในขณะที่มีสถานภาพพนักงานสถาบัน

    ุ 6.เหตุอื่นที่ กบ.สจล กำหนด โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันฯ

    การคำนวณในการจ่ายเงินชดเชย
    ุ 1.ไม่ครบ 1 ปี จ่ายค่าชดเชย 1 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย

    ุ 2.ปฏิบัติงานครบ 1 ปี แตไม่ถึง 3 ปี จ่ายค่าชดเชย 3 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย

    ุ 3.ปฏิบัติงาน ครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี จ่ายค่าชดเชย 6 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย

    ุ 4.ปฏิบัติงานครบ 10 ปี ขึ้นไป จ่ายค่าชดเชย 10 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย

    กรณีพนักงานสถาบันเสียชีวิตไปก่อนจ่าย

    ุ 1.สามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย

    ุ 2.กรณีไม่มีข้อ 1 จ่ายบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

    ุ 3.กรณีไม่มีข้อ 1 และข้อ 2 จ่ายบิดามารดา

    ุ 4.กรณีไม่มีข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้พนักงานสถาบันทำหนังสือระบุผู้รับเงินชดเชยไว้ที่ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี

     สิทธิการร้องขอเงินชดเชยต้องร้องขอภายใน 90 วัน

    กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานสถาบันฯ
    ุ  พนักงานสถาบันจ่าย 3 % สถาบันจ่ายสมทบให้อีก 6 % จ่ายเมื่อออกจากงาน

    ุ   0-6 เดือน ไม่จ่าย

    ุ   6 เดือน ถึง 2 ปี 6 เดือน จ่าย 50 %

    ุ   2 ปี 6 เดือน ถึง 5 ปี 6 เดือน จ่าย 75 %

    ุ   5 ปี 6 เดือน จ่าย 100 %

    ข้าราชการ
    สิทธิการจ่ายบำเหน็จ บำนาญ
     1.ข้าราชการที่ขอเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานสถาบัน อายุราชการ 1 ปี ได้รับบำเหน็จ อายุราชการ 10 ปี ได้รับบำนาญ

     2.ลาออกจากราชการ อายุราชการ 10 ปี ได้รับบำเหน็จ อายุราชการ 25 ปีได้รับบำนาญ

     3.เกษียณอาย, อายุครบ 50 ปี บริบูรณ์, ทุพพลภาพเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติราชการได้

        อายุราชการ 1 ปี ได้บำบำเหน็จ อายุราชการ 10 ปี ได้้รับบำนาญ

     บำเหน็จ
    เงินที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากราชการ

     บำนาญ เงินที่จ่ายเป็นรายเดือน จนกว่าจะเสียชีวิต และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ได้เช่นเดียว กับข้าราชการประจำ

                 เมื่อเสียชีวิต จ่ายบำเหน็จตกทอด ให้อีกจำนวนหนึ่ง และเงินช่วยพิเศษอีก 3 เท่าของบำนาญ

     ข้าราชการประจำเสียชีวิต
    จ่ายบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนบำเหน็จที่ได้รับ และได้รับเงินช่วยพิเศษอีก 3 เท่าของเงินเดือน

     การคำนวณ

     บำเหน็จ = เงินเดิอนเดือนสุดท้าย X อายุราชการ

                    ถ้่าไม่เป็นสมาชิกกบข. นับอายุราชการเป็นปี เศษ ตั้งแต่ 6 เดือน ปัดเป็น 1 ปี

                    ถ้าเป็นสมาชิกกบข. นับอายุราชการเป็นวัน  ตัวอย่าง 10 ปี 6 เดือน นับ365 X10 +(181) =3831วัน หารด้วย 365 วัน

                                               วันให้นับวันที่เกิดขึ้นจริง
     บำนาญ = ค่าเฉลี่ยของเงินเดือนสุดท้าย 60 เดือน X อายุราชการ

                                                   50

                    ถ้่าไม่เป็นสมาชิกกบข. นับอายุราชการเป็นปี เศษ ตั้งแต่ 6 เดือน ปัดเป็น 1 ปี

                    ถ้าเป็นสมาชิกกบข. นับอายุราชการเป็นวัน  ตัวอย่าง 10 ปี 6 เดือน นับ365 X10 +(181) =3831วัน หารด้วย 365 วัน

                             ค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายต้องเอาเงินเดือนที่จ่ายจริงมาบวกรวมกัน 60 เดือนแล้วหารด้วย 60
                                           ต้องไม่เกิน 70 %ของค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย

                                           (วิธิคิดแบบง่าย คือ หากอายุราชการเกิน 35 ปี นับแค่ 35 ปี)

     อายุราชการทวีคูณ
    เมื่อมีการประกาศกฎอัียการศึกให้นับอายุราชการทวีคูณ ให้นับวันที่มาปฏิบัติงานเป็นอีก 1 เท่า

                                 คือ วันทำงานปกติ 1 เท่า บวก ทวีคูณอีก 1 เท่า หากมีการลา ให้หักเวลาทวีคูณออก

                                 สมมุติมีอายุราชการทวีคูณ 2 เดือน 8 วัน  ให้นับอายุราชการรวมกับเวลาทำงานปกติเพื่อคำนวณบำเหน็จ บำนาญด้วย

     อายุราชการรับราชการทหาร ให้ส่งแบบรับรองอายุราชการทหาร เช่นเป็นทหาร 2 ปี นำอายุราชการมารวมคำนวณบำเหน็จ บำนาญได้

                                  อายุราชการทหารที่นับให้ ต้องเป็นเวลาปฏิบัติราชการทหารที่มีการได้รับเงินเดือนทหาร
     บำเหน็จดำรงชีพ เฉพาะข้าราชการบำนาญเมื่อขอรับบำนาญให้เขียนขอบำเหน็จดำรงชีพไปด้วยกัน
                              บำเหน็จดำรงชีพ หมายถึง นำบำนาญที่ได้รับ มาคูณ 15 เท่า เช่น บำนาญเดือนละ 20,000 บาท X 15 เท่า ได้ 300,000 บาท จ่ายได้ไม่เกิน 200,000 บาท

     บำเหน็จตกทอด

      1.กรณีข้าราชการประจำเสียชีวิต จ่ายทายาท คำนวณเท่ากับการคำนวณบำเหน็จ เรียกเงินจำนวนนี้ว่า บำเหน็จตกทอด

      2.กรณีข้าราชการบำนาญเสียชีวิต ถ้ามีการได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว ให้หักออกจากบำเหน็จตกทอด

                  บำเหน็จตกทอด = บำนาญ X 30 - บำเหน็จดำรงชีพ

                  บำนาญที่นำมาคำนวณไม่นับรวม ชคบ. (เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)

     
                                           และได้รับเงินช่วยพิเศษอีก 3 เท่าของบำนาญ ไม่รวม ชคบ.

     เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
    เมื่อมีการปรับเงินเดือนข้าราชการก็จะปรับ ชคบ. โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันฉบับที่ 14 พ.ศ.2554 ให้เพิ่มร้อยละ 5
      ข้าราชการประจำเสียชีวิต และข้าราชการบำนาญเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิได้รับ

      จ่ายบิดา-มารดา 1 ส่วน คู่สมรส 1 ส่วน บุตร คนละ 1 ส่วน หากไม่มีทายาทให้ข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญทำหนังสือระบุ

    ผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ที่ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี

    การได้รับเงิน กบข.
            กบข ย่อมาจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของข้าราชการ  เป็นเงินที่จ่ายเมื่อออกจากราชการ
            และจ่ายให้ทุกกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ ไม่ว่าจะมีความผิดวินัยหรือไม่ก็ตาม 
            หรืออยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือถูกคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดใดก็ตาม สามารถรับเงินจากกบข. เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ได้ทุกกรณี
             เว้นแต่ ถูกคำสั่งศาลบังคับให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคำสั่งศาลนั้นบังคับชำระหนี้ก่อนที่ กบข.จะจ่ายเงิน กบข.ให้กับข้าราชการ 
     เงินที่ได้รับจาก กบข
              เงินสะสม         เป็นเงินเดือนของข้าราชการ ที่ถูกหักจากเงินเดือน  3 %
              เงินสมทบ        เป็นเงินของรัฐ ที่จ่ายสมทบเงินเดือน  3 % ของเงินเดือนข้าราชการ
                                     เป็นเงินของรัฐ ที่จ่ายสมทบเงินเดือน  2 % ของเงินเดือนข้าราชการกรณีรับบำนาญ
              เงินประเดิม      เป็นเงินของรัฐ ที่จ่ายสมทบเงินเดือน  2 % ของเงินเดือนข้าราชการ  
                                     ย้อนหลัง ตั้งแต่ วันบรรจุ ถึง วันที่ 27 มีนาคม 2540  เฉพาะสมาชิกที่ บรรจุก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540
             ผู้ที่บรรจุตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม 2540 ไม่ได้รับเงินประเดิม
             ดอกผล เกิดจากผลประโยชน์ของเงินจำนวนทั้งหมดที่บริหารโดย กบข       

              ข้าราชการที่เลือกรับบำนาญ จะได้รับเงินจาก กบข.
                      1.เงินสะสม
                      2.เงินสมทบ
                      3.เงินชดเชย
                      4.เงินประเดิม   เฉพาะข้าราชการที่บรรจุก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540
                                           เงินประเดิมคือเงินชดเชย 2 % ย้อนหลัง
                                           ตั้งแต่วันบรรจุเข้ารับราชการ ถึง วันที่ 26 มีนาคม 2540
                        5.ดอกผลประโยชน์
              ข้าราชการที่เลือกรับบำเหน็จ หรือออกจากราชการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จะได้รับเงิน กบข.

                       1.เงินสะสม
                       2.เงินสมทบ
                       3.ดอกผลประโยชน์

    ุ กรณีเสียชีวิต จ่ายทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     

    ลูกจ้างประจำ
    สิทธิการรับบำเหน็จลูกจ้าง
    ุ 1.กรณีลาออก 5 ปีบริบูรณ์

    ุ 2.เกษียณอายุ เสียชีวิต และกรณีอื่น 1 ปีบริบูรณ์

    การคำนวณ
    ุ บำเหน็จลูกจ้างประจำ = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย X เดือน

    ุ                                              12

    ุ ถ้าอายุงานเกิน 15 วัน นับเป็น 1 เดือน

    บำเหน็จตกทอด กรณีเสียชีวิต จ่ายทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    ุ ลูกจ้างประจำที่สมัครเป็นสมาชิก กสจ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างประจำ)จะได้รับเงินจาก กสจ เมื่อออกจากงาน

    ุ เมื่อลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน ในอัตราตั้งแต่ 2 % ถึง 15 % ของค่าจ้าง รัฐจะจ่ายเงินสมทบให้ในอัตราเดียวกัน