CURRICULUM

Download more detail curriculum

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Prince of Chumphon Campus Information Engineering.

ภาควิชา

วิศวกรรมศาสตร์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Information Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Information Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมสารสนเทศ)
(ภาษาอังกฤษ) : B. Eng. (Information Engineering)

สถานที่เรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ค่าใช้จ่าย

ค่าบำรุงการศึกษาโดยประมาณ เหมาจ่าย 20,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

146 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

– หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
– หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
– รับเฉพาะนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์และภาคฤดูร้อน ให้กำหนดระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ ข้อกำหนดต่างๆ เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2554
มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มีการเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

การดำเนินการหลักสูตร

ดำเนินการเรียนการสอน ในวัน – เวลาราชการปกติ
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การดูแลนักศึกษาแรกเข้า

– จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในสถาบัน และการแบ่งเวลา
– มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือน ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาและให้เน้นย้ำในกรณีที่นักศึกษามีปัญหาการปรับตัว จากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา เป็นกรณีพิเศษ
– จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ของนักศึกษาและการดูแลนักศึกษา ได้แก่ วันแรกพบระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ วันพบผู้ปกครอง การติดตามการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากอาจารย์ผู้สอน และจัดกิจกรรมสอนเสริม การเทียบโอนหนวยกิต รายวิชา และการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา