CURRICULUM

Download more detail curriculum

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรการประมงและทรัพยากรทางน้ำ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Fishery Science and Aquatic Resources

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ)
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science (Fishery Science and Aquatic Resources)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.บ. (วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ)
(ภาษาอังกฤษ) B.Sc. (Fishery Science and Aquatic Resources)

สถานที่เรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ค่าใช้จ่าย

ค่าบำรุงการศึกษาโดยประมาณ เหมาจ่าย 15,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

125 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

– หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
– หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
– หลักสูตรปริญญาตรี แบบก้าวหน้าทางวิชาการ
– หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
– รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศีกษาต่างชาติ (ที่สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี)
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการ ศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนหรือภาคการศึกษาที่ 3 ให้ก้าหนดระยะเวลา โดยสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ
ข้อกำหนดต่างๆ ไปเป็นตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
ไม่มีการเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

การดำเนินการหลักสูตร

ดำเนินการเรียนการสอน ทั้งในวัน – เวลาราชการปกติ และนอกวัน – เวลาราชการปกติ คือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 นาฬิกา หรือ วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 นาฬิกา
   ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
   ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
   ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น หรือผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันฯ

การดูแลนักศึกษาแรกเข้า

– จัดสอนเสริมเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน
– จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในสถาบันและการแบ่งเวลา
– จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทําหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือน ให้คําแนะนําแก่นักศึกษา และให้เน้นย้ำในกรณีที่นักศีกษามีปัญหาตามข้างต้นเป็นกรณีพิเศษ