CURRICULUM

Download more detail curriculum

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ภาควิชา

วิศวกรรมศาสตร์

สถานที่เรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

ค่าใช้จ่าย

ค่าบำรุงการศึกษาโดยประมาณ เหมาจ่าย 20,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

147 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

– หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
– หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
– รับเฉพาะนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
– เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
– ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้กําหนดระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการการศึกษาปกติ ข้อกําหนดต่างๆ ไปเป็นตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน

การดำเนินการหลักสูตร

ดำเนินการเรียนการสอน ในวันธรรมดา (แต่อาจมีบางวิชาหรือบางครั้งที่ต้องเรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การออกแบบหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (Renewable and Sustainable Energy Engineering Program) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ที่พัฒนามาจากหลักสูตรวิศวกรรมพลังงาน โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงถูกออกแบบให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการผลิตและการใช้พลังงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลังงานทดแทนจึงถูกนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกๆภาคส่วน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีการผลิตและการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพลังงานทดแทนในแต่ละรูปแบบมีคุณลักษณะและข้อจำกัดที่แตกต่างกันจากหลายๆปัจจัย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพลังงานทดแทน

การออกแบบหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานทดแทนและยั่งยืน (Renewable and Sustainable Energy Engineering Program) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ที่พัฒนามาจากหลักสูตรวิศวกรรมพลังงาน โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ดังนั้นหลักสูตรจึงถูกออกแบบให้มีการบูรณาการความรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการผลิตและการใช้พลังงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นพลังงานทดแทนจึงถูกนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกๆภาคส่วน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีการผลิตและการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพลังงานทดแทนในแต่ละรูปแบบมีคุณลักษณะและข้อจำกัดที่แตกต่างกันจากหลายๆปัจจัย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพลังงานทดแทน

โครงสร้างของหลักสูตร

การศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมพลังงานมีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 128 หน่วยกิต ประกอบไปด้วยการศึกษาในหมวดวิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต และหมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต (ในหมวดวิชาเฉพาะประกอบไปด้วยกลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรม และกลุ่มวิชาเลือกเฉพาะสาขา) โดยในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาต้องไปทำงานในสถานประกอบการ (สหกิจศึกษา) เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ภาคการศึกษา

ทักษะเเละผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลังสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับทักษะของการวิเคราะห์และการปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการดำเนินงาน เกี่ยวกับการผลิตพลังงาน การใช้พลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงานอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและหลักทางเศรษฐศาสตร์ (ทั้งนี้ก่อนนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะต้องเข้ารับการทดสอบความรู้จากกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน ซึ่งเมื่อสอบผ่านจะได้รับวุฒิบัตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน)

ความร่วมมือ

มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในด้านการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านพลังงาน
มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในกลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มอาคารและโรงงานควบคุม และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในด้านการฝึกงานและสหกิจศึกษา เช่น บริษัท จีไอ กรีน พาวเวอร์ จำกัด (อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร) และบริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

อาชีพ

วิศวกรซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องกับระบบพลังงาน เช่น การซ่อมบำรุงหม้อน้ำ และระบบทำความเย็น
วิศวกรโรงงานตามสายการผลิต
วิศวกรประจำโรงไฟฟ้า (พลังงานฟอสซิลและพลังงานทดแทน)
วิศวกรออกแบบระบบพลังงาน
นักวิชาการทางด้านเทคโนโลยีพลังงาน หรือการอนุรักษ์พลังงาน
เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น คิดค้นและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน
วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารหรือโรงงานควบคุม

ผู้ประสานงานหลักสูตร

ผศ.ดร.นฤบดี ศรีสังข์
โทร. 081-911-9769
e-mail: naruebodee.sr@kmitl.ac.th
oat_2520@hotmail.com
Line ID: oat_252